วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประวัติความเป็นมาของระนาดทุ้ม
ระนาด เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี สันนิษฐานว่าแต่เดิมนั้นคงนำไม้ทำอย่างกรับหลายๆอันวางเรียงกันแล้วตีให้เกิดเสียง ต่อมาจึงคิดทำไม้รองเป็นรางแล้วจึงประดิษฐ์ดัดแปลงให้มีขนาดลดหลั่นกันวางบนรางเพื่อให้สามารถอุ้มเสียงได้ จากนั้นใช้เชือกร้อยไม้กรับขนาดต่างๆ กันนั้นให้ติดกันเป็นผืนขึงแขวนไว้บนราง และใช้ขี้ผึ้งผสมตะกั่วติดหัวท้ายเพื่อถ่วงเสียงให้เกิดความไพเราะยิ่งขึ้น โดยใช้ไม้ตีให้เกิดเสียงดังกังวานลดหลั่นกันไปตามต้องการแล้วให้ชื่อว่า ระนาด

            ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีผู้คิดประดิษฐ์ระนาดอีกชนิดหนึ่งให้มีเสียงทุ้มนุ่มนวล ฟังไม่แกร่งกร้าวเหมือนอย่างเก่า จึงเรียกระนาดอย่างใหม่ว่า ระนาดทุ้มและเรียกระนาดอย่างเก่าว่า ระนาดเอกซึ่งระนาดทุ้มนั้นคิดประดิษฐ์เลียนแบบจากระนาดเอก ลูกระนาดทำจากไม้ไผ่เช่นเดียวกัน หากแต่เหลาให้มีขนาดกว้างและยาวกว่าลูกระนาดเอก มีจำนวน ๑๗-๑๘ ลูก เทียบเสียงให้ต่ำกว่าระนาดเอกหนึ่งช่วงคู่แปด รางระนาดทุ้มทำจากไม้ที่มีความคงทนสวยงาม เช่น ไม้ขนุน ไม้ชิงชัน เป็นต้น  มีรูปร่างคล้ายหีบไม้แต่เว้ากลางเป็นการโค้ง ใช้โขนปิดทางด้านหัวและด้านท้ายยาวประมาณ ๑๒๔ เซนติเมตร มีตะขอติดโขนข้างละ ๒ อัน สำหรับแขวนหรือขึงผืนระนาดทุ้ม ปากรางกว้างประมาณ ๒๒ เซนติเมตร และมีเท้าเตี้ยๆ รอง ๔ มุมราง รางระนาดทุ้มมักมีการแกะสลักลวดลายต่างๆ แล้วลงรักปิดทองเรียกว่า รางทองซึ่งนิยมกันมาก ไม้ตีนั้นใช้ไม้นวม ซึ่งหัวไม้พันผ้าพอกให้โตและนุ่มเพื่อให้เสียงนุ่มนวล
ระนาด เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี สันนิษฐานว่าแต่เดิมนั้นคงนำไม้ทำอย่างกรับหลายๆอันวางเรียงกันแล้วตีให้เกิดเสียง ต่อมาจึงคิดทำไม้รองเป็นรางแล้วจึงประดิษฐ์ดัดแปลงให้มีขนาดลดหลั่นกันวางบนรางเพื่อให้สามารถอุ้มเสียงได้ จากนั้นใช้เชือกร้อยไม้กรับขนาดต่างๆ กันนั้นให้ติดกันเป็นผืนขึงแขวนไว้บนราง และใช้ขี้ผึ้งผสมตะกั่วติดหัวท้ายเพื่อถ่วงเสียงให้เกิดความไพเราะยิ่งขึ้น โดยใช้ไม้ตีให้เกิดเสียงดังกังวานลดหลั่นกันไปตามต้องการแล้วให้ชื่อว่า ระนาด

                                                             

           

วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

ประวัตโปงราง

การนำเอาไม้กรับหลายๆอันมาวางเรียงตีนั้นน่าจะเป็นต้นกำเนิดของเครื่องดนตรีประเภท โปงลาง และ ระนาดเอก ในปัจจุบันโดยจะเห็น
ได้จากเครื่องดนตรีของคนที่อยู่ในภูมิภาคแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เช่น พม่า ลาว กัมพูชา และร่องรอยการพัฒนาการของระนาดในภูมิภาค
อื่นๆของโลกอีกหลายแห่งซึ่งก็มีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีที่มีรูปร่างและลักษณะ คล้ายคลึงกัน
 
เมื่อมีการนำไม้กรับขนาดต่างๆมาวางเรียงและ
ใช้ไม้เคาะเพื่อให้เกิดเสียงที่ต่าง
กันแล้วจึงมีการคิดไม้รองเป็นรางเพื่อวางไม้กรับเรียงต่อๆกันไป รวมทั้งมีการพัฒนา เพื่อให้คุณภาพเสียงดีขึ้นคือแก้ไขปรับปรุงไม้กรับให้มีขนาดลดหลั่นกันโดยเรียงลำดับ ตามความสูงต่ำของเสียงและทำรางรองไม้กรับให้มีลักษณะเป็น กล่องเสียง เพื่อให้ดัง กังวานยิ่งขึ้นเรียกว่า รางระนาด แล้วใช้เชือกร้อยไม้กรับขนาดต่างๆให้ติดกันเป็นผืน เรียกว่า ผืนระนาด
ขึงแขวนไว้เหนือรางระนาด ต่อมาจึง
ประดิษฐ์แก้ไขตัดแต่งไม้กรับ
ให้มีรูปร่างประณีตสวยงามและเรียกไม้กรับเหล่านี้เสียใหม่ว่า ลูกระนาด ทั้งยังได้พัฒนา วิธีการปรับแต่งระดับเสียงของไม้กรับโดยใช้ขี้ผึ้งผสมตะกั่ว แล้วลนไฟติดไว้ตรงบริเวณด้านล่างตรงส่วนหัว
และส่วนท้ายของลูกระนาดเพื่อให้เกิดเสียงที่ลึกนุ่มนวลขึ้นเป็น
การ
เทียบเสียงลูกระนาดเพื่อให้ได้ระดับเสียงตรงตามที่ต้องการด้วย


เครื่องดนตรีชาวพื้นเมืองประเทศอาฟริกา